เด็ก

ระวัง! วัตถุแปลกปลอมในจมูก, หู, ตา และปากของเด็ก

สำหรับผู้ที่เพิ่งมีลูกน้อยคนแรกของชีวิต อาจจะมีหลายเรื่องหลายสิ่งที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน และหนึ่งในเรื่องที่คุณจำเป็นต้องรู้และต้องมีความระวังอย่างยิ่งยวดก็คือ เด็กเล็กมักจะมีการนำสิ่งแปลกปลอมใส่เข้าไปในหู, จมูก, ตา และปาก เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องแปลกเลย แต่เป็นเรื่องที่เป็นไปตามวัยอันเนื่องมาจากความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก ซึ่งเด็กวัยหัดเดินหรือเด็กเล็กกำลังอยู่ในช่วงที่ต้องทดลองกับสิ่งที่พวกเขาเจอรอบตัว และกำลังเรียนรู้ว่าถ้าพวกเขาทำสิ่งนี้แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ดังนั้นวันนี้เราจึงจะมาแนะนำหนทางที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่จะต้องระวังและ วิธีการแก้ไขในกรณีที่เจอสิ่งแปลกปลอมในช่องจมูก, หู, ตา และปากของเด็กเหล่านี้อย่างถูกต้อง เพื่อที่จะไม่ทำให้ปัญหาเกิดปัญหาบานปลายมากขึ้นเข้าไปอีก

วัยอยากรู้อยากเห็น 

สำหรับสิ่งของที่มักจะเข้าไปติดอยู่ในหู, ตา, จมูก และปากของเด็กเล็ก มักจะเป็นของที่หยิบจับง่ายเป็นของชิ้นเล็กพอที่จะยัดเข้าไปในอวัยวะเหล่านี้ได้ ในกรณีที่ลูกของคุณแสดงท่าทางผิดปกติให้ส่องไฟตรวจสอบในรูจมูก, ช่องปากและในหู ถ้าพบสิ่งแปลกปลอมให้นำลูกไปหาหมอทันที อย่าพยายามนำวัตถุเหล่านั้นออกด้วยตนเอง เนื่องจากอาจจะยิ่งทำให้ติดลึกเข้าไปอีก ในกรณีรูจมูกที่ยังพอมีช่องทางให้หายใจได้อยู่ ถ้าคุณพยายามดันออกมาเองอาจจะดันลึกและทำให้หายใจไม่ได้เลยก็เป็นได้ ซึ่งในกรณีนี้อันตรายมากสิ่งที่คุณต้องรู้ก็คือเด็กวัยต่ำกว่า 4 ปีมักจะมีพฤติกรรมที่ชอบใส่สิ่งแปลกปลอมขนาดเล็กเข้าไปในรูหู, จมูก, ตา และปากซึ่งมักจะพบกับสิ่งเหล่านี้

  • เหรียญ
  • ถ่านขนาดเล็ก รวมทั้งแบตเตอรี่แบบกระดุม 
  • ของเล่นที่ถอดตา, จมูก หรือชิ้นส่วนเล็ก ๆ อื่นๆ ได้
  • เข็ม, หมุด และหมุดนิรภัย
  • ผักหั่น,ถั่ว ป๊อปคอร์น และอื่น ๆ 

อาการมีสิ่งแปลกปลอมในจมูก

  • ลูกบ่นว่าปวดหรือคัน
  • มีกลิ่นคาวออกจากรูจมูกข้างเดียว
  • เลือดออกจมูก
  • มีกลิ่นปาก

อาการมีสิ่งแปลกปลอมในหู

  • บ่นว่าปวดหู
  • มีอาการแดงในหรือรอบหู
  • มีน้ำไหลออกจากหู
  • ไม่ค่อยได้ยิน

และนี่ก็คือข้อควรระวังและอาการบ่งชี้ในเบื้องต้นว่า ลูกของคุณอาจจะยัดของที่มีลักษณะเล็กเข้าไปในรูจมูกหรือรูหู ส่วนตานั้นเด็กมักจะไม่ค่อยใส่สิ่งแปลกปลอมเข้าไปสักเท่าไหร่แต่ก็อาจจะพบได้ ดังนั้นขอให้คุณพิจารณาให้รอบคอบก่อนที่จะซื้อของเล่นชิ้นใดให้ลูก หรือก่อนที่จะให้ลูกถือสิ่งใดไว้ในมือเพื่อที่จะเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกหยิบจับเข้าไปในรูหูหรือรูจมูกเหล่านี้นี่เอง