ทารกและเด็กวัย 0-12 ปี

แนะนำแนวทางการสื่อสารที่ดี กับทารกและเด็กวัย 0-12 ปี

มนุษย์เป็นเผ่าพันธุ์ที่สื่อสารด้วยคำพูดเป็นหลัก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมความห่วงใยและเอกลักษณ์ความเป็นส่วนตัวของแต่ล่ะบุคคล ดังนั้นการสื่อสารจึงมีความสำคัญกับเด็กช่วงวัยทารกและเด็กอ่อนเช่นเดียวกัน การสื่อสารที่ดีจะก่อให้เกิดครอบครัวที่อบอุ่น เป็นการกระตุ้นความสัมพันธ์และการพัฒนาของเด็ก การสื่อสารที่อบอุ่นอ่อนโยนจะทำให้เด็กทารกรู้สึกปลอดภัยเลี้ยงง่ายมากขึ้น ส่วนเด็กวัยโตขึ้นมาอีกนิดก็จะช่วยทำให้เด็กเกิดความมั่นใจว่าพ่อแม่สามารถเป็นที่พึ่งมีความมั่นคงก่อเกิดสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้นมา ดังนั้นการสื่อสารกับเด็กอย่างถูกต้องต่อเนื่องนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการพัฒนาสภาพจิตใจของเด็กที่มีต่อครอบครัว สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่ยังไม่มีแนวทางในการสื่อสารกับลูกที่ดีมากนัก ยังไม่รู้ว่าจะต้องชวนลูกคุยอย่างไรวันนี้เราก็มีคำแนะนำดี ๆ มาฝากกัน

ชวนเด็กทารกคุย  

สำหรับเด็กทารกที่ยังอยู่ในวัยแบเบาะ ในช่วงที่เด็กทารกตื่นและอารมณ์ดีให้คุณให้ความสนใจเต็มที่ในการพูดคุยกับเด็กทารก  พยายามมองตาลูกยิ้มแย้มแจ่มใสและพูดด้วยคำพูดเชิงบวกต่าง ๆ พูดคุยหยอกล้อเล่นกับลูกด้วยน้ำเสียงที่ร่าเริงแจ่มใสหรืออาจจะเปิดเพลงคลอเบา ๆ ไปด้วยก็ได้ แนะนำเดนตรีเชิงบวกที่เหมาะสมกับเด็กต่าง ๆ เสียงเพลงที่ฟังง่ายสบายเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นทำให้เด็กทารกนั้นมีพัฒนาการที่ดีขึ้น

เด็กวัยหัดพูด

สำหรับเด็กในวัยที่เริ่มพูดได้แล้ว ให้คุณพยายามสื่อสารให้ดีที่สุดพยายามใส่ใจสนใจในสิ่งที่ลูกของคุณต้องการพูด ซึ่งจะช่วยทำให้ลูกของคุณพัฒนาทักษะในการสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยสร้างสัมพันธ์แก่ครอบครัวได้ดีขึ้นอีกด้วยเพราะเด็กจะเห็นคุณค่าของความคิดและคำพูดของเขา และยังทำให้คุณเรียนรู้สิ่งที่ลูกคิดสิ่งที่ลูกประสบพบเจอมาได้อีกด้วย โดยเฉพาะเด็กในวัยเข้าอนุบาล 

ใช้ภาษากายเสริม 

ซึ่งจะช่วยทำให้เด็กเห็นคุณค่าในการสนทนามากขึ้น ยกตัวอย่างเช่นหันไปมองหน้าลูกของคุณขณะที่พูดคุยและสบตากับลูกเป็นระยะ ๆ และการพูดคุยกับลูกของคุณไม่ใช่เพียงแค่ฟังคำพูดที่เขาพูดออกมาเท่านั้น แต่ยังจะต้องพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งที่เขาต้องการจะสื่ออีกด้วย อย่าตัดประโยคและอย่าตัดบทสนทนา ถึงแม้ว่าลูกของคุณจะพูดช้าหรือนึกคำไม่ค่อยออกอย่ารีบเร่งในการแก้ปัญหา ปล่อยให้ลูกค่อย ๆ คิดทำและแก้ปัญหาด้วยตนเองไปก่อน 

การสื่อสารเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญในการสร้างสายใยรักพื้นฐานในครอบครัว ซึ่งทุกคนสามารถทำได้ขอเพียงแค่ใส่ใจในการพูดคุยสื่อสารกันเท่านั้น ความสัมพันธ์ที่เริ่มต้นจากการใส่ใจความรู้สึกของกันและกัน จะทำให้ลูกของคุณกล้าที่จะเล่าเปิดเผยความรู้สึกในใจแก่ผู้เป็นพ่อเป็นแม่ ไม่มีความลับต่อกันพ่อแม่สบายใจ ส่วนลูกเองก็มองว่าพ่อแม่เป็นอีกกลุ่มบุคคลหนึ่งที่ไว้วางใจเล่าเรื่องต่าง ๆ ได้